วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้


ประโยชน์ ของช็อกโกแลต



วันนี้สะกิดมีประโยชน์ดีๆของช็อคโกแลตมาฝากกันค่ะ
  1. ช่วยปรับอารมณ์ และจิตใจ ให้เข้าสู่สภาวะปกติ
  2. ช่วยลดอาการปวดท้อง หงุดหงิด หน้าบวม ตัวบวม ก่อนมีประจำเดือน
  3. ช่วยแก้อาการเมาค้าง หรือ hangover ได้ด้วย จะได้เลิกเมาค้าง ข้ามวันข้ามคืน
  4. ป้องกันการเกิดมะเร็ง เพราะได้พิสูจน์พบแล้วว่า สารที่พบในช็อกโกแลต
  5. เป็นสารชนิดเดียวกันกับ สารที่พบใน ผัก ผลไม้ และไวน์แดง
  6. ช่วยลดอาการอักเสบ เวลาเจ็บป่วยต่างๆ
  7. มีผลต่อสมอง เพราะช่วยให้ตื่นตัว และยังช่วยให้ กระฉับกระเฉงอีกด้วย
  8. ในมิลค์ ช็อกโกแลต อัตราส่วน 1.4 ออนซ์ จะประกอบด้วย โปรตีน 3 กรัม แคลเซียม 5% และธาตุเหล็กถึง 15%
  9. โดยเฉพาะช็อกโกแลต ที่ใส่ถั่ว หรืออัลมอนด์ จะมีสารอาหารพวกนี้มากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีการทดลองและวิจัยพบอีกว่า ผู้ที่ดื่มนมช็อคโกแลต เป็นประจำทุกวันนั้น ไม่มีปริมาณคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้น
ทั้งที่บริโภคไขมัน (จากนม) เข้าไปเป็นจำนวนมาก เท่านั้นยังไม่พอ ช็อคโกแลตยังอุดมไปด้วยสารเคมีที่ทำให้ร่างกายรู้สึกสบายใจ สดชื่นและมีความสุข

การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ


การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ


แนวคิดและหลักการ

         1. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึงกระบวนการดำเนินงานทางเทคนิควิชาชีพสารสนเทศศาสตร์ในหลาย ๆ รูปแบบ หลายขั้นตอนต่อเนื่องกัน เพื่อให้ศูนย์สารสนเทศได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่              1.1 เหมาะสมตามหลักวิชา              1.2 ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และ              1.3 ได้มาอย่างรวดเร็วที่สุดตามระบบงาน         2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีความเหมาะสมตามหลักวิชา ได้มาโดยผ่านการประเมินคุณค่าอย่างเข้มข้นของนักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำ การชี้นำ หรือการวิจารณ์ทรัพยากรสารสนเทศทั้งการสัมผัสจับต้องโดยตรง หรือผ่านเครื่องมือช่วยในการเลือกทั้งเครื่องมือหลักและเครื่องมือเสริม         3. ขั้นตอนเชื่อมต่อระหว่างการประเมินคุณค่ากับการจัดหา ก็คือการตัดสินใจเลือกทรัพยากรสารสนเทศแต่ละชิ้นนั้นให้ได้4. การจัดหาหรือการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศ แบ่งได้เป็น 4 วิธี คือการซื้อ การได้เปล่า การแลกเปลี่ยน และการผลิตขึ้นเอง ดังรายละเอียดในลำดับต่อไป


การซื้อ
         การซื้อ คือการจ่ายเงินของหน่วยงาน / องค์กรเพื่อให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศ
มาจัดบริการแก่ผู้ใช้ การซื้อจะมีกรรมสิทธิ์ครอบครองและใช้งานทรัพยากรสารสนเทศตลอดไปภายใต้กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญา การซื้อ
เป็นวิธีจัดหาที่ต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าวิธีอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรสารสนเทศ
ก็ยังเป็นสินค้าทั่วไปในเชิงเศรษฐกิจที่นับวันแต่จะมีราคาแพงขึ้นตามกลไกตลาดและภาวะทางเศรษฐกิจโลก การตัดสินใจซื้อทรัพยากรสารสนเทศแต่ละชิ้น จึงต้องดำเนินการ
อย่างรอบคอบ ถูกต้องตามหลักวิชาชีพ ตลอดจนมีราคาที่เหมาะสม ที่เรียกว่า “การซื้ออย่างมีประสิทธิผล” นั่นเอง

กระบวนการจัดซื้อ มีดังนี้

            1. จัดทำรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านการประเมินคุณค่า และตัดสินใจ เลือกแล้วตามหลักวิชาและความต้องการของผู้ใช้อย่างเข้มข้น
           2. เสนอขออนุมัติซื้อต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ
           3. เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงดำเนินการซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด
           4. การซื้อ ต้องเลือกวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องตามจำนวนเงินในแต่ละครั้ง
           5. ในการซื้อแต่ละครั้งแต่ละวิธี จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการหลายคณะ เช่น คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตามแต่กรณีเป็นต้น และมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
           6. เมื่อดำเนินการจัดซื้อถูกต้องเรียบร้อยจนถึงขั้นคณะกรรมการตรวจรับ
พัสดุลงนามแล้ว จึงรับทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นมาดำเนินงานทางเทคนิควิชาชีพต่อไปอันได้แก่ การลงทะเบียน การปรับปรุงสภาพความแข็งแรงทนทานและความปลอดภัยในการบริการ จัดหมวดหมู่และทำรายการค้น และนำออกบริการแก่ผู้ใช้ได้ในที่สุด

   การได้เปล่า
           เป็นการจัดหาที่ใช้เงินน้อยหรือเกือบไม่ใช้เงินเลย เงินที่ใช้เพื่อการได้เปล่าไม่ใช่เป็นมูลค่าราคาของทรัพยากรสารสนเทศ หากแต่เป็นค่าดำเนินการตามความจำเป็น ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือค่าส่งจดหมายติดต่อสื่อสาร และส่งทรัพยากรสารสนเทศโดยทางไปรษณีย์หรือค่าบริการขนส่งสินค้าโดยทั่วไปนั่นเอง การได้เปล่าจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือ

            1. การบริจาค คือการที่ผู้มีจิตอันเป็นกุศลจ่ายเงินซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำหน่ายนั้นให้โดยไม่คิดมูลค่าราคา นักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพียงแต่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้บริจาค และ / หรือเสียค่าขนส่งทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น
ภาระหน้าที่อันสำคัญของนักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศก็คือ ต้องเสาะแสวงหาผู้มีจิตอันเป็นกุศลที่จะจ่ายเงินซื้อทรัพยากรสารสนเทศมาบริจาค ดำเนินการติดต่อขอรับการบริจาค ขนส่ง และตอบแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจ เพื่อให้ผู้บริจาคเกิดความปีติยินดีในกุศลทานที่จ่ายเงินไปในการนี้

            2. การแจก คือการที่หน่วยงานหรือบุคคลมีความมุ่งหมายผลิตทรัพยากรสารสนเทศขึ้นเพื่อมอบให้ผู้ที่เห็นคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ โดยมิได้ผลิตขึ้นมาเพื่อการซื้อขายแต่ประการใด
ภาระหน้าที่ของนักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศก็คือ ต้องเสาะแสวงหาหน่วยงานหรือบุคคลที่ผลิตหรือมีทรัพยากรสารสนเทศนั้นไว้เพื่อให้เปล่า ดำเนินการติดต่อขอรับแจก ขนส่ง และตอบแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจ เพื่อให้หน่วยงานหรือบุคคลผู้แจกได้รับทราบว่าการผลิตทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ บรรลุความมุ่งหมาย คือมีผู้เห็นคุณค่าและนำทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์แล้วนั่นเอง

 การแลกเปลี่ยน
             เป็นการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่เกินจำนวนใช้งาน หรือหมดความจำเป็นในการใช้งาน ไปแลกกับทรัพยากรสารสนเทศของหน่วยงานองค์กรอื่นตามที่
ได้ทำข้อตกลงร่วมกัน โดยต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง กล่าวคือ

            1. ทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำมาแลกเปลี่ยนนั้น ต้องไม่มีหลักฐานการขึ้นทะเบียนคงอยู่ หากจะนำทรัพยากรสารสนเทศที่มีหลักฐานการขึ้นทะเบียนไว้แล้วมาแลกเปลี่ยน จะต้องดำเนินการ “คัดออก” คือถอนทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานองค์กร

            2. การแลกเปลี่ยนอาจดำเนินการได้ใน 2 ลักษณะ ตามแต่จะมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่แลกเปลี่ยนนั้น คือ
                 2.1 เป็นคู่แลกเปลี่ยนกันโดยตรง

                 2.2 แลกเปลี่ยนผ่านหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการการแลกเปลี่ยน

            3. สัดส่วนในการแลกเปลี่ยนตามแต่จะตกลงกัน เช่นแลกเปลี่ยนเล่มต่อเล่มซึ่งจะง่ายต่อการปฏิบัติ หรือแลกเปลี่ยนเล่มต่อหลายเล่มตามแต่เนื้อหาวิชาหรือคุณค่าของทรัพยากรสารสนเทศที่กำหนด หรือสามารถปฏิเสธการแลกเปลี่ยนได้ในบางกรณี เป็นต้น

            4. ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทรัพยากรสารสนเทศที่แลกเปลี่ยนมักจะเป็นภาระของผู้ได้รับทรัพยากรสารสนเทศนั้น

            5. หน่วยงานองค์กรจะต้องมีจิตสำนึกที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกันดำเนินงานแลกเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ กล่าวคือจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการค้นหา และเผยแพร่รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนนั้นอย่างเป็นเครือข่ายไม่ปิดบังอำพราง

การผลิตทรัพยากรสารสนเทศขึ้นเอง
             เป็นวิธีจัดหาแบบเส้นผมบังภูเขา กล่าวคือนักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศมักจะมองข้ามไป อาจเป็นเพราะเข้าใจว่าการผลิตทรัพยากรสารสนเทศไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของตน ทั้งยังเป็นภาระที่หนักหน่วง ต้องใช้เวลานานมาก และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตาม หากนักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศอย่างกว้างขวางครอบคลุมและลึกซึ้งพอ ก็จะมองเห็นทางผลิตทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างง่ายดาย ใช้เงินน้อย ใช้เวลาไม่มากหรือใช้เวลาว่างจากการทำงานประจำให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ทั้งยังจะทำให้ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าถูกต้องเหมาะสมตรงตามหลักวิชาและความต้องการใช้ประโยชน์ของผู้ใช้มากกว่าการจัดหาวิธีอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด คือไม่ต้องเสียงบประมาณจำนวนมากทั้งยังลดภาวะการเสี่ยงต่อความผิดตามกฎหมายและระเบียบการซื้อหรือเช่าลดการเสาะแสวงหาและติดต่อสัมพันธ์กับผู้บริจาคหรือผู้แจก และไม่ต้องยุ่งยากลำบากในการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานองค์กรอื่น ตัวอย่างการผลิตทรัพยากรสารสนเทศขึ้นเอง เช่น

            1. การทำกฤตภาคจากหนังสือพิมพ์ล่วงแล้ว (ต้องเป็นหนังสือพิมพ์ที่“คัดออก”  อย่างถูกต้องตามระเบียบของหน่วยงานองค์กร)  โดยใช้กาวและกระดาษแบบเพื่อผนึกเพียงเล็กน้อย  และใช้เวลาในขณะนั่งรอให้บริการผู้ใช้ก็ทำได้

            2.  การทำวัสดุกราฟิค  เช่นภาพผนึกจากปฏิทินของปีที่ผ่านพ้นไปแล้วซึ่งจะได้ภาพสวยงามมีคุณค่าสูง  คุ้มกับค่ากาว  กระดาษแบบ  และเวลา

            3. การทำสไลด์  หากมีกล้องถ่ายรูปหรือยืมจากที่อื่นได้  ก็เสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าฟิล์มสไลด์  1  ม้วนพร้อมค่าล้างและทำกรอบ  ก็จะได้สไลด์ถึง  35  แผ่น  แต่ละแผ่นจะถูกต้องตรงตามบทที่กำหนดไว้    หากซื้อสไลด์สำเร็จรูปนอกจากจะมีราคาแพงมากแล้วในชุดนั้น  ๆ  บางภาพอาจไม่ตรงตามต้องการก็จำยอมซื้อมาทั้งชุดด้วยราคาแพง

            4. การบันทึกเทปเสียง หรือการบันทึกวีดิทัศน์ ก็มีข้อดีเด่นทำนองเดียวกับการทำสไลด์ดังกล่าวมาข้างต้น คืออุปกรณ์หาได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ได้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาถูกต้องครบถ้วนตรงตามต้องการ

            5. การทำจุลสาร ตั้งแต่การทำแผ่นพับด้วยกระดาษเพียงแผ่นเดียว จนถึงทำเป็นเล่ม นักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ย่อมสามารถผลิตเองได้อย่างแน่นอน

            6. การทำวารสาร อาจเป็นงานที่หนัก ใช้ความสามารถ ใช้เวลา และใช้เงินเป็นจำนวนมาก แต่ก็อยู่ในวิสัยที่นักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศสามารถทำได้


            7. การทำหนังสือตำรา เป็นงานที่หนักมาก แต่นักพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศก็อาจทำได้ในขอบเขตเนื้อหาวิชาชีพ หรืออาจเป็นคู่มือปฏิบัติงาน หรือทำโครงการปรับปรุงศูนย์สารสนเทศของตนเองให้เจริญก้าวหน้าทำประโยชน์แก่ผู้ใช้ยิ่ง ๆขึ้นไป เป็นต้น

 


วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้

นอนน้อยอาจทำให้น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้น




ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยโคโลราโดระบุว่า การนอนน้อยทำให้คนเรารับประทานอาหารมากขึ้น ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ผลการวิจัยล่าสุดระบุว่า การอดนอนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำหนักเพิ่ม แต่เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะนำไปสู่การรับประทานอาหารมากกว่าที่ร่างกาย เนื่องจากเมื่อคนเราตื่นนานกว่าก็ต้องการพลังงานมากกว่า แต่ปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นมากกว่าแคลลอรีที่ถูกเผาผลาญจึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การวิจัยครั้งนี้นักวิจัยมีผู้เข้าร่วมเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวรูปร่างดีและสุขภาพแข็งแรงจำนวน 16 คน ใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลโคโลราโดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยในช่วง 3 วันแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีเวลานอนคืนละ 9 ชั่วโมงและให้ควบคุมการรับประทานอาหาร หลังจากนั้นจึงแบ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้นอนคืนละ 5 ชั่วโมง ส่วนอีกกลุ่มได้นอนคืนละ 9 ชั่วโมง ในช่วง 5 วันต่อมา ในช่วงนี้ทั้งสองกลุ่มจะได้รับประทานอาหารปริมาณมากขึ้นและรับประทานของว่างได้ เช่น ไอศกรีม มันฝรั่งทอด ผลไม้ และโยเกิร์ต หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจึงสลับพฤติกรรมการนอน นักวิจัยจะวัดพลังงานที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยใช้ไปโดยติดตามปริมาณออกซิเจนที่พวกเขาหายใจเข้าไปและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่พวกเขาหายใจออกมา
ผลปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนที่นอนหลับ 5 ชั่วโมง เผาผลาญพลังงานมากกว่าคนที่ได้นอนหลับ 9 ชั่วโมงร้อยละ 5 แต่มีปริมาณแคลลอรีที่บริโภคเข้าไปมากกว่าร้อยละ 6 โดยคนที่นอนน้อยมีแนวโน้มรับประทานอาหารเช้าน้อยกว่าแต่รับประทานของว่างหลังจากมื้อค่ำมากกว่า ซึ่งปริมาณแคลลอรีทั้งหมดในอาหารเหล่านั้นยังมากกว่าอาหารมื้อปกติด้วย
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ชายและผู้หญิงตอบสนองต่อการรับประทานอาหารได้ไม่จำกัดต่างกัน โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเมื่อได้นอนเพียง 5 ชั่วโมง แต่ผู้ชายมีน้ำหนักมากขึ้นแม้ว่าจะได้นอนหลับอย่างเพียงพอเมื่อรับประทานอาหารได้มากตามที่ต้องการ ส่วนผู้หญิงยังมีน้ำหนักเท่าเดิมเมื่อได้นอนหลับเพียงพอไม่ว่าจะรับประทานอาหารไปมากเพียงใด

กูเกิล พลัส (Google+) คืออะไรกัน


กูเกิล พลัส  (Google+) 

ช่วงนี้ พอเปิดเมล์ ขึ้นมา ก็มีคนมาชวนเข้าก๊วน กูเกิล พลัส (Google+) เข้า youtube ก็ ถามว่าสมัคร กูเกิล พลัส (Google+) หรือยัง …. และยังอีกสารพัดที่ ที่เข้าไป ….
แล้วไอ้ กูเกิล พลัส(Google+) นี้มันคืออะไรกันแน่ … วันนี้ก็เลยเข้าไปรวบรวมจากเว็บต่างๆมาให้ดู (ขอบคุณทุกเว็บที่ได้ทำไว้นะครับ)
กูเกิล พลัส (Google+) เป็นบริการเครือข่ายสังคมให้บริการโดยกูเกิล โดยเปิดให้ใช้งานครั้งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ผู้ที่จะเข้ามาทดลองใช้ต้องได้รับเชิญจากบุคคลที่ใช้อยู่เท่านั้น
Google+ ทำงานโดยรวมบริการหลายอย่างของทางกูเกิลเข้าไว้ที่เดียวกัน อาทิ เช่น กูเกิล บัซซ์, กูเกิล โพรไฟล์, กูเกิล ทอล์ก และอีกหลายบริการ ปัจจุบันได้มีการรับรองการทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และ แอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ และไอโฟน ซึ่งมีแผนการที่จะพัฒนาสำหรับโทรศัพท์มือถือไอโฟน ได้มีการวิเคราะห์มาว่าบริการตัวนี้ของกูเกิลจะเป็นคู่แข่งกับเครือข่ายสังคมเฟซบุ๊ก
 
บริการต่าง ๆ ที่กูเกิลนำเสนอมีดังนี้
  • “Circle” สำหรับการแบ่งเพื่อนออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เหมือน Friend list บน Facebook
  • “Huddle” สำหรับการแชทเป็นกลุ่ม และส่งข้อความสั้น
  • “Hangout” สำหรับการวิดีโอแชทเป็นกลุ่ม (มากที่สุดได้ 10 คน)
  • “Instant upload” จะอัปโหลดรูปภาพและวิดีโอที่ถ่ายขึ้นอัลบั้มอัตโนมัติ แต่จะให้ผู้ใช้ตัดสินใจภายหลังว่าจะแบ่งปันให้กับผู้ใด ให้บริการเฉพาะบนระบบแอนดรอยด์เท่านั้น
  • “Sparks” ให้ผู้ใช้ติดตามหัวข้อและประเด็นต่าง ๆ ที่ตนชอบ
  • “Streams” ให้ผู้ใช้ดูอัปเดตต่าง ๆ จากเพื่อนได้ คล้ายกับ News feed บน Facebook
ใครยังไม่รู้จัก Google+ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตัวใหม่ที่ให้บริการโดย กูเกิล ลองดูคลิปวีดีโอนี้ เป็นการ์ตูน สั้นๆ เข้าใจง่ายในไม่กี่นาที

อธิบายให้เข้าใจด้วยภาษาง่าย ๆ ปุ่ม เมนูต่าง ๆ บน Google Plus
1 สตรีม (รูปบ้าน)
ก็คือหน้ารวมของทุกสิ่งอย่าง คุณจะสามารถเขียนแบ่งเรื่องใหม่ ๆ แชร์ลิงก์ ส่งภาพ เพิ่มวีดีโอ
คุณจะสามารถเห็นทุกความเคลื่อนไหวของผู้คนในแวดวงของคุณได้ทั้งหมด
ใครเขียนอะไร คุยกับใคร ใครกด +1 ให้ใคร รับทราบได้
2 รูปภาพจากแวดวง (รูปภาพภูเขา)
จะเก็บรวบรวมทุกรูปภาพจากทุกคนในแวดวงของคุณ จะมีรูปภาพให้คุณดูชมเยอะแยะเต็มไป
หมด คุณสามารถเข้าถึงรูปภาพของตัวเอง รูปภาพจากโทรศัพท์มือถือได้จากที่นี่ พูดง่าย ๆ
อะไรที่เกี่ยวกับรูปภาพจะอยู่ตรงนี้
3 โปรไฟล์ (เงาคนในวงกลม)
จะเป็นหน้าส่วนตัวของคุณ สำหรับแนะนำตัว แสดงเพื่อนของคุณการพูดคุยสื่อสาร เก็บข้อมูลที่คุณแบ่งปัน รูปภาพ วีดีโอ ลิงก์ ฯลฯ คุณสามารถใช้โปรไฟล์ในการเผยแพร่ ส่งต่อ เพื่อให้คนรู้จักคุณผ่าน url : ยาววววว https://plus.google.com/105795900800037368627/posts (ใช้บริการเสริมย่อให้สั้นลงได้เพื่อสะดวกต่อการจดจำ)
4 แวดวง (วงกลมสีซ้อนกัน)
หน้านี้จะโชว์ภาพแทนตัวของคนทุกคนที่ติดต่อกับคุณ และคุณติดต่อกับเขา คนที่คุณเพิ่ม คน
ที่คุณเชิญ ใครเป็นใครทุกคนจะอยู่รวมกันในนี้หมด
คุณสามารถกำหนด และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ได้ ด้วยการลากแต่ละคนมาอยู่ในวงกลมความ
สัมพันธ์ที่กำหนดไว้ โดยค่าเริ่มต้นที่มีมาให้จะมีดังนี้
Acquaintances (คนรู้จัก) ,Family(ครอบครัว),Following(ผู้ที่ติดตาม),Friends(เพื่อน)
และคุณสามารถเพิ่มวงกลมความสัมพันธ์ได้ได้เองตามใจชอบ
คนที่คุณลากมาอยู่ในแต่ละวงกลม ก็เหมือนคนละกลุ่มกัน การเข้าถึงข้อมูล การพูดคุย
แลกเปลี่ยน หรือ สิ่งที่แชร์ก็จะเป็นเฉพาะกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะเห็นไม่เหมือนกัน
คนในวงกลมครอบครัว จะไม่รู้ไม่เห็นว่า คนในวงกลมเพื่อนคุยอะไร แชร์อะไรกัน
หรือวงกลมคนรู้จักคุณกำหนดให้เห็นข้อมูลส่วนตัวของคุณแบบผิวเผิน ในขณะที่วงกลมเพื่อน
คุณกำหนดให้เห็นข้อมูลของคุณทุกอย่างที่ต้องการแสดง
ทั้งหมดตั้งค่าปรับแต่ง ตามรูปแบบความเป็นส่วนตัวของคุณได้
5 รูปภาพแทนตัวของคุณ (เปลี่ยนได้ตามใจชอบ) เพื่อความเป็น Social Network ส่วนใหญ่นิยมใช้รูปตัวจริงเสียงจริงกันนะครับ
6 ส่วนแสดงข้อมูลรวม (อ่านรายละเอียดข้อ 1)
7 สตรีมข้อมูล ข่าวสาร การแชร์ แบ่งตามวงกลมความสัมพันธ์ (แวดวง) ที่คุณจัดไว้ ซึ่งข้อมูลจะแสดงไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มแวดวง (อ่านรายละเอียดข้อ 4)
8 ถ้าคุณติดตั้งส่วนเสริมต่าง ๆ จะแสดงปุ่มส่วนเสริมตรงนี้ ในภาพมีการติดตั้งส่วนเสริม
สำหรับเล่น Facebook บน Google Plus ก็เลยมี ปุ่ม Facebook ด้วย
9 กูเกิล พลัส จะแนะนำเพื่อน ๆ คนอื่น ๆ ให้คุณรู้จัก ถ้าคุณอยากรู้จักใครก็สามารถเพิ่ม
ไว้ในแวดวงของคุณได้
10 แสดงเพื่อนในแวดวงทั้งหมดของคุณ พร้อมบอกจำนวนว่ามีกี่คน (สุ่มโชว์ครั้งละ 14 คน)
11 แจ้งเตือน ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ใครพูดคุยอะไรกับคุณ กับใคร ใครแบ่งปัน ตอบ แชร์อะไร เมื่อมีความเคลื่อนไหวจะแจ้งเตือนตลอดเวลา
12 เนื้อหาสาระดี ๆ ที่กูเกิลรวบรวมไว้ให้อ่านเล่น แบ่งตามหมวดหมู่ความสนใจ
13 ใช้ในการค้นหาผู้คนใน Google Plus
14 กลุ่มไอคอนที่ใช้ในการแบ่งปัน รูปภาพ วีดีโอ ลิงก์ ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ความหมายของภูมิปัญญา

มีผู้รู้ให้ความหมายของภูมิปัญญาไว้มากมาย  เช่น
ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์            
ภูมิปัญญา  เป็นเรื่องที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีตและเป็นเรื่องของการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  โดยผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต การทำมาหากินและพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความสัมพันธ์เหล่านี้
ภูมิปัญญา  หมายถึง ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรียน การที่ชาวนารู้จักวิธีทำนา  การไถนา การเอาควายมาใช้ในการไถ่นา  การรู้จักนวดข้าวโดยใช้ควาย  รู้จักสานกระบุง  ตระกร้า เอาไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน  เรียกว่าภูมิปัญญาทั้งสิ้น
ภูมิปัญญา  เป็นผลึกขององค์ความรู้ที่มีกระบวนการสั่งสม สืบทอด กลั่นกรอง กับมายาวนาน มีที่มาหลากหลายแต่ได้ประสบประสานกันจนเป็นเหลี่ยมกรณีที่จรัสแสงคงทนและท้าทายตลอดกาลเวลา ความรู้อาจจะไม่ได้เป็นเอกภาพ แต่ภูมิปัญญาจัดว่าเป็นเอกลักษณ์
ดังนั้น  อาจสรุปได้ว่า  ภูมิปัญญา หมายถึง  องค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่น
ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม

ประเภทของภูมิปัญญา

  1. ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นองค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา เป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงการแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ จึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชาติ ของเผ่าพันธุ์หรือเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน
  2. ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ แนวทางแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง แต่ละประสบการณ์  แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะแตกต่างกันไป นำมาใช้แก้ไขปัญหาโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่โดยชาวบ้านคิดเอง เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต หรือเป็นความรู้ของชาวบ้านที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน  เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม
    เป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้มีพลังและสำคัญยิ่ง ช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตอยู่รอดสร้างสรรค์การผลิตและช่วย
    ในด้านการทำงาน  เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุ มีผลในตัวเอง
     
  3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน  ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้น
    รวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
      
  4. ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  องค์ความรู้ ความสามารถ
    ทักษะของคนไทยที่เกิดจากการส่งเสริมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการการเลือกสรร เรียนรู้ปรุงแต่งและถ่ายทอดสืบต่อกันมา  เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย

ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ลักษณะสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น พอสรุปได้ดังนี้
  1. เป็นเรื่องของการใช้ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อและพฤติกรรม
  2. แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  คนกับคน  คนกับธรรมชาติ  คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
  3. เป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต
  4. เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหา  การจัดการ  การปรับตัว  การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม
  5. เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิตเป็นพื้นความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
  6. มีลักษณะเฉพาะหรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง
  7. มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคมตลอดเวลา
  8. มีวัฒนธรรมเป็นฐาน  ไม่ใช่วิทยาศาสตร์
  9. มีบูรณาการสูง
  10. มีความเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมที่ลึกซึ้งสูงส่ง
  11. เน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุธรรม

แนวทางการดำเนินงานภูมิปัญญาท้องถิ่น

 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดให้มีกลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้สำนักพัฒนาเกษตรกร ตามนโยบายปฏิรูประบบราชการ เพื่อรับผิดชอบในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ โดยมีหน้าที่ดังนี้
  1. ศึกษา รวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษา ทดสอบ และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
  3. บริหารและจัดการให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน และองค์กรเกษตรกร/ชุมชนอย่างเป็นระบบ ในการพัฒนา บ่มเพาะ และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. ส่งเสริมการสนับสนุนการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสากลให้เกิดนวตกรรมด้านการเกษตร
  5. สนับสนุน และประสานให้เกิดการปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และทรัพย์สินทางปัญญาทีเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้


 อาหาร 6 ชนิด พิชิตไขมัน

          ร่างกายของคนเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลได้เองอยู่แล้วดังนั้นถ้าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดก็จะมีสูงขึ้นตามไปด้วยดังนั้นถ้าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดก็จะมีสูงขึ้นตามไปด้วย

        เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันและหัวใจวายแน่นอน
อาหารและผักบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล
ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม อาหาร 6 ตัวสำคัญนั้น คือ
มะเขือต่างๆหอมหัวใหญ่กระเทียมถั่วเหลืองแอปเปิ้ลโยเกิร์ตวันใดมื้อใดที่คุณมีเมนูอาหารซึ่งอุดมไปด้วยไขมันมากๆ
ก็ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ตัวหนึ่งตัวใดเพื่อควบคุมไขมัน เช่น
เมื่อรับประทานแกงกะทิที่มันๆ ก็ควรรับประทานมะเขือเปราะ
หรือมะเขือพวงมากๆ
เมื่อรับประทานไข่มากๆ
ซึ่งเป็นตัวเพิ่มคอเลสเตอรอลที่น่ากลัวนักคุณก็ควร
รับประทานหอมหัวใหญ่ร่วมกับไข่เจียวหรือไข่ดาวด้วย
หรือรับประทานแอปเปิ้ลวันละ 1 ผลทุก ๆ วัน
หรือโยเกิร์ตวันละ 1 ถ้วยทุกๆ วัน
รับประทานกระเทียมสดๆ เล็กน้อยกับอาหารจานยำ จานคาวต่าง ๆ
เพื่อขับคอเลสเตอรอลออกจากร่างกาย อันเป็นเรื่องที่แสนง่ายดาย
กว่าการเลิกรับประทานอาหารมันๆ ทุกจานโดยสิ้นเชิง
        คุณยังสามารถรับประทานเนย แฮม เบคอน
ขาหมู ไข่ หรือ อาหารไขมันสูงจานต่างๆ ได้ในบางมื้อบางวัน
หากเพียงคุณรู้จักรับประทานผักเหล่านี้เข้าไปด้วย
        *** ซึ่งนอกจากจะช่วยลดคอเลสเตอรอลแล้ว อาหาร 6 อย่างนี้ยังมีคุณค่าของสารอาหารและแร่ธาตุสำคัญที่จะนำประโยชน์สู่ร่างกาย
ของคุณอย่างมากมายในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น แอปเปิล หอมใหญ่และโยเกิร์ตต่างๆ ช่วยให้คุณขับถ่ายดี ผิวพรรณสวยงาม เป็นต้น
 

เกร็ดความรู้


 10 วิธีถนอมสายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์

         1. ควรเลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำเพื่อถนอมสายตา วิธีทดสอบง่ายๆ ทำได้โดยลองปิดสวิตช์จอภาพ แล้วเอามือหรือแขนไปจ่อไว้ใกล้ๆ จอภาพให้มากที่สุด จอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำจะแทบไม่รู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตตามขนที่ผิว คือไม่รู้สึกขนลุก     
          2. ปรับแสงและความคมชัดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้รู้สึกสบายตา รวมทั้งความสว่างภายในที่ทำงาน ลดแสงสะท้อนรบกวน เช่น ปิดไฟดวงที่สะท้อนจ้าลงบนจอคอมพิวเตอร์ หากทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้าและจอภาพมีความสว่างมาก ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อดวงตาได้ง่ายและรวดเร็ว จะรู้สึกว่ามีอาการปวดร้าวดวงตาเร็วและแสบตาอย่างรุนแรง      
          3. ตำแหน่งของจอภาพควรห่างจากดวงตาประมาณ 18-24 นิ้ว หรือประมาณช่วงแขนเอื้อม และปรับให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15-20 องศา หากระยะห่างระหว่างตากับจอภาพไม่สัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดตาได้ง่าย      
          4. ใช้แผ่นกรองรังสีติดไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะช่วยลดการกระจายรังสีจากจอคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่คุณภาพของสินค้า แต่อย่างน้อยๆ ก็ช่วยลดแสงจ้าจากจอคอมพิวเตอร์ลงได้      
          5. ทำความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการสะท้อนแสงมากขึ้น
          6. หยุดพักหรือเปลี่ยนตารางเวลาการทำงานใหม่ จะช่วยให้สายตาคลายความเมื่อยล้าจากการจ้องเพ่งคอมพิวเตอร์ได้ จงหยุดพักสายตาครั้งละ 15 นาทีทุกๆ 2 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็แนะนำว่าควรจะหยุดพักบ่อยๆ โดยแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อย เช่น พักสายตาทุก 30 นาที โดยหลับตาหรือมองไปไกลๆ สัก 5-10 นาที แล้วจึงเริ่มทำงานต่อไป ก็จะช่วยถนอมสายตาได้      
          7. อาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ วางไว้บนเปลือกตา และหลับตาสัก 2-3 นาที หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือ ปิดไฟ นอนพักสักครู่ (ถ้าไม่มีปัญหากับหัวหน้างาน)      
          8. ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ อาจจะเกิดอาการตาแห้งเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง เพราะห้องที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ก็มักจะมีเครื่องปรับอากาศอยู่ด้วย เมื่อบวกกับความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำให้อากาศแห้ง การหยอดน้ำตาเทียมจะช่วยได้      
          9. ควรกะพริบตาให้บ่อยครั้งกว่าปกติ เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ ภายใน 10 วินาที ลองพยายามกะพริบตาสัก 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก      
เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ ภายใน 10 วินาที ลองพยายามกะพริบตาสัก 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก      
          10. ตรวจสุขภาพตาบ่อยๆ ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ และมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ควรตรวจเช็กสุขภาพตาบ้าง
 

สถาบันบริการสารสนเทศ


สถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ

        งานบริการเป็นหัวใจสำคัญที่สุดสำหรับสถาบันบริการสารนิเทศที่มีหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์สารนิเทศ,ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร,ศูนย์เอกสารสนเทศ ฯลฯ หากมีการจัดบริหารที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพ มีงานเทคนิคที่ดีเยี่ยม แต่มีงานบริการที่ไม่เป็นที่ประทับใจไม่สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศนั้นก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของงานบริการได้ ดังนั้นงานบริการจึงมีความสำคัญต่องานสถาบันบริการสารนิเทศ จนอาจกล่าวได้ว่า"งานบริการคือหัวใจของสถาบันบริการสารนิเทศ"

ความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ
        การสื่อสารในปัจจุบันสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและสังคมเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความเข้าใจในสารสนเทศแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมหลายด้าน เช่น ช่วยพัฒนาสติปัญญา  บุคลิกภาพ  ด้านการบันเทิง  การประกอบอาชีพ  การตัดสินใจ  พัฒนาการศึกษา  พัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ  นอกจากนี้สถาบันบริการสารสนเทศยังเป็นหน่วยงานที่รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ มีการจัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ  และเผยแพร่พร้อมให้บริการสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้  ดังนั้น  ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจความหมายของสถาบันบริการหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศที่จะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต  ดังจะกล่าวต่อไปนี้               
          สรุปได้ว่า  สถาบันบริการสารสนเทศ  คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม

ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ
         วิทยาการ ความรู้ และเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ของสังคมอย่างกว้างขวาง ความก้าวหน้าของมนุษย์ในสังคมเกิดจากการถ่ายทอดและเรียนรู้ ดังนั้นสถาบันบริการสารสนเทศจึงมีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในสังคมสารสนเทศ เช่นปัจจุบัน สถาบันบริการสารสนเทศมีรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ศูนย์ข้อมูล หน่วยทะเบียน สถิติ ศูนย์วิเคราะห์สารนิเทศ ศูนย์ประมวลแจกจ่ายสารนิเทศ ศูนย์แนะแหล่งสารนิเทศ หน่วยงานจดหมายเหตุ และสถาบันบริการสารนิเทศเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงมีผู้รู้ได้แบ่งประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้(ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)ประเภทของสถาบันบริการสารสนเทศ (ชุติมา สัจจานันท์ 2539 121-156)
1. ห้องสมุด (Library) ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Library มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Liber ซึ่งแปลว่าหนังสือห้องสมุด จึงมีความหมายว่าแหล่งสะสมและให้บริการสารสนเทศทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์ โดยมีบรรณารักษ์ผู้ได้รับการศึกษาอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นผู้บริหารและดำเนินงานเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ตามความต้องการ ห้องสมุดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้      1.1  ห้องสมุดโรงเรียน (School Libraries) คือแหล่งวิทยากรที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและบรรจุเป้าหมายของหลักสูตร ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ แต่จะรวบรวมสื่อประเภทต่างๆ เช่น แถบเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ไมโครฟิลม์ไว้ด้วย ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันจึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น ศูนย์วัสดุการสอน (Instructional Material Center) ศูนย์วัสดุการเรียน (Learning Material Resource Center)ศูนย์สื่อการศึกษา (Media Center)      1.2  ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (College and University Libraries) คือหัวใจสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษา คุณภาพของห้องสมุดจะเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนั้น ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นเสมือนเครื่องในการสอน เป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้ตนเอง และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยขั้นสูงของนักศึกษาและอาจารย์ โดยมีบรรณารักษ์รับผิดชอบการบริหารและดำเนินงานห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสารสนเทศ สำนักบรรณสารการพัฒนา สำนักหอสมุดกลาง เป็นต้น       1.3  ห้องสมุดเฉพาะ (Special Libraries) คือแหล่งสะสมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือบุคคลบางกลุ่ม สารสนเทศที่สะสมในห้องสมุดเฉพาะจะเป็นสาขาวิใดวิชาหนึ่ง มุ่งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและให้บริการสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่วนมากสังกัดหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ และตั้งอยู่ในอาคารของหน่วยงานที่ห้องสมุดสังกัด       1.4  ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) คือแหล่งบริการการศึกษานอกระบบแก่ประชาชน โดยไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห้องสมุดประชาชนจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดได้ ดังนี้            1)  ห้องสมุดประชาชนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดประชาชนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ขึ้นตรงต่องานห้องสมุดประชาชน กองสันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร เช่น ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ซอยพระนาง บางเขต ปทุมวัน ฯลฯ           2.)  ห้องสมุดประชาชน สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด อำเภอ           3)  ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิล (British Council) ห้องสมุดสถานสอนภาษา เอยูเอ (AUA) หรือห้องสมุดที่ดำเนินการโดยชาวต่างประเทศ เช่น ห้องสมุดเนียลสันเฮย์ (Neilson Haya)          4)  ห้องสมุดประชาชนที่จัดดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน เช่น ธนาคารศรีนคร ในกรุงเทพมหานคร มี สาขา คือ สาขาวงเวียนใหญ่ สาขาสามแยก สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ต่างจังหวัด แห่ง คือ สาขาเชียงใหม่และสาขาพิจิตร          5)  หอสมุดแห่งชาติ (National Libraries) คือห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทุกชนิดและทุกชื่อที่ผลิตขึ้นในประเทศ หรือผลิตในประเทศอื่น แต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ สำหรับใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย และถือเสมือนว่าสื่อเหล่านั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาติ หอสมุดแห่งชาติของไทยนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว ยังมีสาขาในต่างจังหวัด เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา เชียงใหม่ ลำพูน สิงห์บุรี นครราชสีมา จันทบุรี ฯลฯ2. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) โดยทั่วไปหมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาหรือเฉพาะเรื่อง บุคลากรของศูนย์ประกอบด้วยนักเอกสารสนเทศ นักวิจัย บรรณารักษ์ นักบรรณานุกรม คำว่า ศูนย์สารสนเทศและศูนย์บริการเอกสาร (Documentation Center) เป็นคำที่ใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่ศูนย์บริการเอกสารเน้นวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับเอกสาร แต่ศูนย์สารสนเทศเน้นถึงการนำไปให้บริการแก่ผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศูนย์สารสนเทศตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 หลังปี พ.ศ. 2483 จำนวนศูนย์สารสนเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เดิมเรียกว่าศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Scientific Information Center) คำว่าศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Special Information Center) ใช้เมื่อปี พ.ศ. 2508 เพื่อยกระดับงานของศูนย์ ในประเทศอังกฤษสารสนเทศยุคแรกๆ ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษที่1960 โดยระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (OSTI : Office for Scientific and Technical Information) ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาและวิทยาศาสตร์ศูนย์สารสนเทศแบ่งเป็นประเภทต่างได้ ดังนี้          2.1  ศูนย์บริการเอกสารสาธารณะ (Public Documentation Center) เป็นแหล่งบริการสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยเงินภาษีอากรของราษฎร เน้นการสะสมรวบรวมและประเมินค่าบทความในวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มักไม่ตีพิมพ์เผยแพร่เช่นรายงานต่างๆ สิทธิบัตร มาตรฐานตัวอย่างเช่น ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์สนเทศสิทธิบัตร กรมวิทยาศาสตร์บริการศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           2.2  ศูนย์บริการเอกสารกึ่งสาธารณะ (Semi – Public Documentation Centers) ได้แก่ ศูนย์ของสมาคมวิชาการ สมาคมวิชาชีพหรือสมาคมการค้าจัดตั้งขึ้นให้บริการแก่สมาชิกของสถาบัน แต่มีบางแห่งอนุญาตให้บุคคลใช้ได้ สารสนเทศมักจำกัดอยู่เฉพาะแขนงวิชา ตัวอย่างเช่น ศูนย์สนเทศสตรี สภาสตรีแห่งชาติ ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)          2.3  ศูนย์บริการเอกสารเอกชน (Private Documentation Center) หมายถึงศูนย์บริการเอกสารขนาดใหญ่ของบริษัท ห้างร้าน ศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ทุกชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ และบุคลากรของบริษัทไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะครอบคลุมทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทโดยส่วนรวม ตัวอย่างเช่น ศูนย์เอกสารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย          2.4  ศูนย์สารสนเทศภายใน (Internal Information Center) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานที่ยังไม่ได้เผยแพร่ขึ้นในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ เช่น รายงานการวิจัย การทดลอง รายงานการปฏิบัติงาน คำสั่ง และยังทำหน้าที่จัดหา บริการสารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การตัดสินใจ และการกำหนดนโยบาย          2.5  ศูนย์สารสนเทศเฉพาะ (Specialized Information Center) หมายถึงศูนย์สารสนเทศของบริษัทที่ปรึกษา สมาคมการค้า และของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เฉพาะเรื่อง เช่น น้ำมันปิโตรเลียมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสารสนเทศ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการและการใช้ผลิตผลนั้นๆ          2.6  หน่วยงานอื่นซึ่งมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ให้บริการในฐานะแหล่งผลิตและเผยแพร่สารสนเทศ เช่น สำนักพิมพ์เฉพาะวิชา ผู้จัดพิมพ์วารสารวิชาการ         2.7  รูปแบบผสม (Mixed Forms) การให้บริการสารสนเทศขึ้นอยู่กับความประสงค์ของแต่ละหน่วยงานที่ต้องการจะให้เป็นไป3. ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ศูนย์ข้อมูลคือแหล่งสะสมและเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมักเป็นตัวเลขหรือข้อมูลดิบลักษณะอื่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน ถ้าการจัดเก็บข้อมูลขยายขอบเขตในวงกว้างเรียกว่าคลังข้อมูล (Data Bank) ศูนย์ข้อมูลอาจสังกัดหน่วยราชการสมาคมต่างๆ บริษัทหน่วยงานเอกชน ตัวอย่างศูนย์ข้อมูลที่น่าสนใจ มีดังนี้       3.1  ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย กองนโยบายและวางแผนพลังงาน สำนักงานพลังงานแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวม แลกเปลี่ยนและให้บริการข้อมูลด้านพลังงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอีกด้วย       3.2  ศูนย์ข้อมูล สำนักวิจัยธนาคารกรุงเทพจำกัด จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลเศรษฐกิจทั่วไป ข้อมูลขายสินค้า ข้อมูลคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยที่ได้จากรายงานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน       3.3  ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิด การเพราะปลูก เพื่อให้บริการแก่นักวิจัย หน่วยปฏิบัติและผู้สนใจ        3.4  กระทรวงพาณิชย์ รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลลูกค้า โดยมีคลังข้อมูลการค้าประเภทต่างๆ กระจายอยู่ตาม กรม กอง เช่น คลังข้อมูลส่งเสริมการส่งออก (กรมพาณิชย์สัมพันธ์) คลังข้อมูลธุรกิจการเงินประกันภัย (สำนักงานประกันภัย)4.หน่วยทะเบียน สถิติ เป็นแหล่งรับจดทะเบียน เก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูลการจดทะเบียนหรือลงทะเบียน ตลอดจนสถิติที่เกี่ยวข้องหน่วยทะเบียนสถิติมี ลักษณะ ดังนี้        4.1  หน่วยทะเบียน สถิติ ภายในหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาล มีหน่วยทะเบียนเก็บรวบรวมประวัติ และสถิติคนไข้        4.2  หน่วยราชการ ระดับสำนักงาน กอง ฝ่าย ซึ่งได้รับการจัดตั้งให้ดำเนินการรับจดทะเบียนและงานทะเบียนเฉพาะเรื่อง ตามขอบเขตของภารกิจตัวอย่างของหน่วยงานทะเบียน คือ กรมทะเบียนการค้า รับจดทะเบียนเป็นแหล่งข้อมูลทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนธุรกิจของคนต่างด้าวกองทะเบียน กรมการปกครอง มีฝ่ายทะเบียนรับผิดชอบงานทะเบียนการปกครอง
5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ค้นคืน เลือกสรรประเมินคำและสังเคราะห์สารสนเทศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศมีลักษณะการดำเนินงานเป็นวิชาการขั้นสูง ต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ต้องใช้ความรู้และแรงงานขั้นสูงบริการของศูนย์จึงมีราคาแพง6. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศคือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ โดยแนะนำให้ทราบแหล่งสารนิเทศต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์สถาบันบริการสารสนเทศ สถาบันการศึกษา สมาคมวิชาการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อ ค้นคว้าอ้างอิงโดยตรงต่อไป ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศมักจำกัดขอบเขตตามสาขาวิชา เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งสังคมศาสตร์ ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ7. หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) จดหมายเหตุ คือเอกสารราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนที่สิ้นสุดกระแสการปฏิบัติงาน และได้รับการประเมินค่าแล้วว่าเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์รัฐบาล ภาพถ่ายฟิล์ม สไลด์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ภาพยนตร์ ฯลฯ หน่วยงานจดหมายเหตุ (Archives) หมายถึงหน่วยราชการหรือหน่วยงานเอกชน ทำหน้าที่เก็บรักษาจดหมายเหตุ ไว้เพื่อประโยชน์สำคัญแบ่งเป็น ประเภท ดังนี้         7.1  หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เก็บรักษาจดหมายเหตุของทางราชการที่หน่วยราชการต่างๆ ส่งมอบให้ เพื่อให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่นักวิจัยและบุคคลทั่วไป         7.2  หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เก็บรักษาเอกสารที่มีคุณค่าที่หน่วยราชการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นส่งมอบให้ อาจจะเป็นสาขาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่         7.3  หน่วยงานจดหมายเหตุของส่วนราชการ เก็บรักษาจดหมายเหตุเอกสารของส่วนราชการนั้นไว้โดยเฉพาะ เช่น กองบรรณสาร และห้องสมุดกระทรวงต่างประเทศ         7.4  หน่วยงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย เก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัย นโยบายการปฏิบัติงาน การบริหารงาน กิจกรรมทางการเรียนการสอน ฯลฯ เช่น หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย         7.5  หน่วยงานจดหมายเหตุของวัดและสถาบันศาสนา เก็บรักษาจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติ พัฒนาการของวัด สถาบันศาสนา และเรื่องราวทางศาสนาที่เกี่ยวข้อง         7.6  หน่วยงานงานจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจ และอุตสาหกรรมจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต การลงทุน สิทธิบัตร การตลาดและการจ้าง         7.7  หอประวัติบุคคลสำคัญ (Hall of Fame) รวบรวมประวัติเกียรติคุณ และผลงานของบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา

ประเภทของสถาบันหรือแหล่งเรียนรู้สารสนเทศ 

1. ห้องสมุดหรือหอสมุด (Library)
             ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่เก่าแก่ที่สุด เป็นแหล่งสะสมรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชา และสื่อทุกประเภท มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ            และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการหลักที่อยู่ในห้องสมุด ได้แก่ บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ            บริการตอบคำถามและช่วย การค้นคว้า บริการการอ่าน เราสามารถจำแนกห้องสมุดออกได้เป็น ประเภทตามวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ               1.1   ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)                เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน ในสถาบันการศึกษาระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

               1.2  ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (Academic Library)                  เป็นหน่วยบริการสารสนเทศของสถาบันที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัย     วิทยาลัย    และสถาบันที่เน้นการสอนการค้นคว้าวิจัย  ทำหน้าที่จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศที่สนองความต้องการด้านการเรียนการสอน การค้นคว้า และวิจัยของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษา  ในขณะนี้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา  หลายแห่งใช้ชื่อเรียกต่างกันไป เช่น    สำนักหอสมุด  สำนักวิทยบริการ สำนักบรรณสาร  ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา   (ประภาวดี  สืบสนธิ์.  2543 : 150)

               1.3  ห้องสมุดเฉพาะ   (Special Library)                         เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา โดยทั่วไปสังกัดอยู่ในหน่วยงานทางวิชาการ สมาคมและองค์การเฉพาะด้าน เช่น ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดกฎหมาย  ห้องสมุดธนาคาร  ทำหน้าที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ                1.4  ห้องสมุดประชาชน  (Public Library)                  เป็นห้องสมุดชุมชน  ทำหน้าที่จัดบริการแก่ประชาชนทุกระดับความรู้  ทุกเพศทุกวัย  และทุกสาขาอาชีพ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และพัฒนาความเป็นอยู่รวมทั้งคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

              1.5  หอสมุดแห่งชาติ  (National Library)                มีหน้าที่เก็บรวบรวม สะสมรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียน โสตทัศนวัสดุ ที่ผลิตขึ้นในประเทศและเกี่ยวข้องกับประเทศนั้น

2. ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center หรือ Information Center) 
                        เป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่อง ให้แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะหน่วยงานนั้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศมีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ  ผู้ใช้มักมาใช้ สารสนเทศที่รวบรวมไว้เพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีศูนย์เอกสารนั้นโดยตรง   เช่น ข้อมูลด้านการวิจัย ตัวเลข สถิติ สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา  ศูนย์สารสนเทศหลายแห่งจัดตั้งขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดของสถาบันนั้นเอง (ครรชิต มาลัยวงศ์ และคนอื่น ๆ. 2537 : 84 - 85) เช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  มีการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางด้านวิศวกรรมธรณี เทคนิค พลังงานคืนรูป   สิ่งแวดล้อม และเฟอโรซีเมนต์ บางแห่งอาจตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานต่างหาก เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ Technical Information Access Center  (TIAC) 

3.  ศูนย์ข้อมูล (Data Center)
                      เป็นแหล่งรวบรวมและบริการข้อมูล ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่
 ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลสินค้า ข้อมูลทางสมุทรศาสตร์ หรืออวกาศ ตัวอย่างของศูนย์ข้อมูลในประเทศไทย เช่น ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย ของสำนักงานพลังงานแห่งชาติ

 4.  หน่วยงานสถิติหรือหน่วยทะเบียนสถิติ  (Statistical Office)                      เป็นหน่วยงานที่รวบรวม จัดเก็บ ข้อมูลทางสถิติตัวเลขต่าง ๆ เป็นตัวเลขเฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขาวิชา อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์ หรือทำขึ้นมาเพื่อปฏิบัติงานสถิติโดยตรง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ

 5.  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (Information Analysis Center)
                      ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ ทำหน้าที่รวบรวมและบริการสารสนเทศเฉพาะวิชา โดยนำมาคัดเลือก วิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูลใบข้อมูล  และปริทัศน์ เพื่อใช้ในการตอบคำถาม และบริการข่าวสารทันสมัยแก่ผู้สนใจ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่าง ๆ  เนื่องจากต้องประเมินผลและวิเคราะห์สารสนเทศที่มีอยู่  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
 6.  ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ  (Information Clearing House)
                        ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ   หมายถึง  หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ    ทำหน้าที่แนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสม  หรือบางครั้งยังรวบรวมสารสนเทศไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจติดต่อขอมา  โดยจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม   ดรรชนี   สาระสังเขป     หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประมวลผลและแจกจ่ายสารสนเทศที่สำคัญ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)  หอสมุดแห่งชาติของไทย  และห้องสมุดยูเนสโก
 
 7.  ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (Referral Center)
                       เป็นหน่วยงานให้บริการแนะนำผู้ใช้ไปยังแหล่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้  โดยทางศูนย์จะรวบรวม  จัดทำและปรับปรุงรายการข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาที่ศูนย์รับผิดชอบให้ถูกต้องสมบูรณ์
 8.  หอจดหมายเหตุ หรือหน่วยงานจดหมายเหตุ  (Archive)
                      หอจดหมายเหตุ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเอกสารราชการ เอกสารทาง
ประวัติศาสตร์ อันได้แก่ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์ แผนที่  แผนผัง  แบบแปลน  พิมพ์เขียว  ภาพถ่าย ภาพวาด สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ไมโครฟิล์ม วีดิทัศน์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์  เพื่อเป็นหลักฐานแสดงพัฒนาการดำเนินงานของรัฐหรือสถาบันเอกชน ใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้วย หอจดหมายเหตุจำแนกออกได้ ประเภท คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยและ หอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม
 9.  สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (Commercial Information Service Center)
                 
เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่คิดค่าบริการจากผู้มาใช้บริการ โดยเก็บในลักษณะ
ของสมาชิก หรือตามอัตราค่าบริการที่กำหนดไว้  โดยเฉพาะผู้ใช้ที่แสวงหาสารสนเทศ ด้วยความรวดเร็วและทันสมัย  เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (สุนทร  แก้วลาย.  2533 : 20-23)   สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ มีหลายรูปแบบได้แก่  ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (Current Awareness Services) สำนักงานติดต่อ  และให้คำปรึกษาสารสนเทศ  (Extendion Services – Liason and Advisory)  ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี (Abstract and Index Services)  และเครือข่ายบริการสารสนเทศ (Information Services Network)  
 10.  ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Libraries)
                     เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านโทรคมนาคม 

หนังสือ E-book flipalbum

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


http://www.mediafire.com/?w7qpu4qsd45cud1

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

4 ย. เคล็ดลับเติมความสุขชีวิตคู่




คงไม่มีคู่แต่งงานคู่ไหนใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยปราศจากปัญหา ความขัดแย้ง หรือเรื่องขัดอกขัดใจกัน หรือหากมีก็คงน้อยมาก ๆ เหตุที่ต้องกล่าวเช่นนี้เพราะคนสองคนที่มาจากต่างครอบครัว ต่างการเลี้ยงดู เมื่อมาใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยาย่อมต้องใช้เวลาในการปรับตัวนั่นเอง และในช่วงเวลาแห่งการปรับตัวนั้น โอกาสที่จะเกิดความไม่เข้าใจกัน น้อยอกน้อยใจกัน ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ดี สำหรับคู่ที่กำลังเผชิญปัญหาดังกล่าว เรามีเคล็ดลับเติมรักให้ชีวิตคู่ด้วยกฎ "4 ย." จาก สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มาฝากกันค่ะ ซึ่งทั้ง 4 ย. จะประกอบด้วยอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ
1. ย. ยกย่อง
ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนย่อมปรารถนาได้ยินได้ฟังคำพูดที่อ่อนหวาน ไพเราะ เอื้ออาทร ห่วงใย ให้กำลังใจ ให้เกียรติกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง คำพูดที่ออกมาจากใจ บนพื้นฐานของสติปัญญาและความรักความเมตตานั้นเป็นพลังเสริมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองและโลกได้อย่างน่าอัศจรรย์
2. ย. ยินยอมและยืดหยุ่น
ความอดทนอดกลั้น บนพื้นฐานของความรักความเข้าใจนั้น ถือเป็นเคล็ดลับสำคัญของชีวิตคู่ดังคำกล่าวที่ว่า "บ้าน...สร้างจากหิน อิฐ และไม้ แต่บ้านเปี่ยมรัก...สร้างจากความรักและความเข้าใจ" ความสัมพันธ์ที่สมดุลและแนบแน่น จำเป็นต้องประกอบด้วยการให้และการรับที่เหมาะสม ดังนั้น ชีวิตคู่ต้องเรียนรู้ที่จะพบกันครึ่งทาง
3. ย. แยกแยะ
ชีวิตคู่สามีภรรยาเป็นธรรมดาที่ต้องมีเรื่องกระทบกระทั่งให้หงุดหงิดใจ และเป็นธรรมดาอีกเช่นกันที่เราอาจมีเรื่องหงุดหงิดรำคาญใจผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน หรือลูกน้องในที่ทำงาน หากถือหลักความอดทนอดกลั้น เข้าใจ ให้อภัย และพบกันครึ่งทางให้ได้ดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว โอกาสที่จะนำปัญหาชีวิต การงาน และครอบครัวมาปะปนกันในแต่ละวันก็จะลดน้อยลง ดังนั้น การรู้จักแยกแยะปัญหาแต่ละเรื่องออกจากกันโดยใช้สติกำกับกาย วาจาและจิตใจ รู้จักคิดก่อนพูดและกระทำ รวมทั้งคิดทุกคำที่พูด แต่ไม่พูดทุกคำที่คิด จะช่วยให้สถานการณ์ความยุ่งยากต่าง ๆ กลายเป็นเรื่องเล็ก และสามารถแก้ไขได้ในที่สุด
4. ย. ยืนหยัด
ไม่ว่าปัญหาใดเกิดขึ้น หากถือหลักที่ว่า มองสิ่งดีด้วยใจดีมีแต่ได้ มองสิ่งร้ายด้วยใจดีไม่มีเสีย ก็จะทำให้เกิดกำลังใจในการดำเนินชีวิต รวมทั้งมองทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามา – ผ่านออกไปเป็นเรื่องปกติได้

ทั้ง 4 ย. เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคู่ที่กำลังมีปัญหาความไม่เข้าใจกัน หรือน้อยอกน้อยใจกันให้ได้กลับมาเข้าใจกันใหม่ แต่นอกเหนือไปจากนั้น เราคงต้องยอมรับด้วยว่า การใช้ชีวิตร่วมกันของคนสองคน ไม่ควรมีทิฐิมากจนเกินไป หรือมองว่าตนเองถูกแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะนั่นจะทำให้ทั้ง 4 ย. เกิดขึ้นไม่ได้เลยนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นั่งเก้าอี้อย่างไรไม่ปวดหลัง

      วัยเรียนที่ต้องนั่งเก้าอี้ทบทวนหนังสือ หาข้อมูล ทำการบ้าน หรือ พิมพ์รายงานผ่านคอมพิวเตอร์นาน ๆ หลายคนมักรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณเอว หลัง และต้นคอ สร้างความหงุดหงิดใจให้บ่อยครั้ง รู้หรือไม่? ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจาก “การนั่งเก้าอี้ที่ไม่ถูกต้อง

วิธี บรรเทาทำได้ เพียงพิจารณาเบาะเก้าอี้ ควรมีขนาดพอดี นั่งแล้วไม่อึดอัด หากเบาะใหญ่เกินไปควรหาหมอนมาหนุนหลัง จากนั้น นั่งให้เต็มก้น หลังพิงพนัก ช่วยลดอาการปวดคอ คอเกร็ง ส่วนเท้าวางราบสัมผัสพื้น

สำหรับที่พักแขน ตรวจดูความแข็งแรงให้เหมาะสมสำหรับค้ำยันตัวขณะลุก และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เกะกะเวลาพิมพ์งาน นอกจากนี้ ข้อศอกควรวางอยู่ระดับเดียวกับพื้นโต๊ะ ป้องกันช่วงไหล่เกิดอาการเกร็ง

กรณี โต๊ะต่ำกว่าเก้าอี้ เมื่ออ่านหนังสือควรหาอุปกรณ์มาเสริมให้หนังสือวางสูงระดับหน้าอก ป้องกันกล้ามเนื้อคอทำงานหนักจนเกิดอาการตึง และส่งผลให้ปวดหลัง อันเกิดจากการก้มโน้มตัวอ่านหนังสือมากเกินไป

ทั้งนี้ ควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อยืดเส้นยืดสายให้เส้นเอ็นคลายตัว แต่เลี่ยงการก้ม หรือ เอี่ยวหลังแรง ๆ เพราะจะทำให้เจ็บกล้ามเนื้อได้.

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ความจำแย่แก้ได้ด้วย 4 วิธี

      วัยที่เพิ่มขึ้นบางครั้งอาจทำให้เริ่มหลงลืม ปัญหานี้บรรเทาได้ด้วยเทคนิค 4 ข้อ แนะวัยทำงานปฏิบัติดี วัยเรียนปฏิบัติเลิศ

1. วิธีแรก โฟกัสสายตา โดยนั่งจ้องวัตถุ หรือ เหตุการณ์ตรงหน้า จดจำรายละเอียดให้มากที่สุด นานประมาณ 3 นาที จากนั้น ละสายตา แล้ววาดสิ่งที่เห็นบนกระดาษ เมื่อเสร็จตรวจดูว่ามีสิ่งใดตกหล่นไปหรือไม่ ฝึกสม่ำเสมอจะช่วยพัฒนาความจำระยะสั้น บริหารสมอง และเสริมประสิทธิภาพความจำด้านสายตา

2. วิธีต่อมา รับประทานอาหารอุดมวิตามินซี, อี และเบต้าแคโรทีน โดยเฉพาะส้ม องุ่น เบอร์รี ผักสีเขียว ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อสมองจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์สมองเสื่อม ทั้งนี้ ผลวิจัยในต่างประเทศพบว่า ผู้บริโภควิตามินซีสูง มีผลการทดสอบด้านสมาธิ ความจำ และการคำนวณดีที่สุด

3. ตามด้วย การทำกิจกรรมท้าทายความคิด เมื่ออายุเริ่มเข้าเลขสาม สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ดังนั้น ควรหางานอดิเรกยามว่างที่สนุกสนานทำ เช่น เต้นแทงโก้ เรียนภาษาใหม่ ต่อจิ๊กซอว์ เกมส์ปริศนาอักษรไขว้ เล่นปิงปอง เป็นต้น ช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมอง และความจำได้ดี

4. สุดท้าย นอนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เซลล์ประสาทจะสื่อสารกันได้มากขึ้น ส่งผลต่อการเรียนรู้ และความจำ